โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี มีนโยบายในการบำบัดรักษา และส่งต่อหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน 5 ขั้นตอน ครอบคลุม (1) กำหนดนโยบายของสถานศึกษา (2) แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานบำบัดรักษา (3) กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานบำบัดรักษา (4) มีเครือข่ายในการบำบัดรักษา และส่งต่อ และ (5) รายงานผลการดำเนินงาน
1. กำหนดนโยบายของสถานศึกษา
โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี ได้กำหนดนโยบายที่จะใช้กับผู้เรียนที่อาจติดสารเสพติด เพื่อที่จะลดจำนวนผู้เสพสารเสพติดลง หรือลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแก่โรงเรียน ครอบครัวและชุมชน (ซึ่งโรงเรียนไม่มีนักเรียนเสพสารเสพติด) โดยการดำเนินการ 3 มาตรการ คือ (1) มาตรการป้องกัน (2) มาตรการแก้ไข และ (3) มาตรการบำบัดรักษาและฟื้นฟู โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานในแต่ละมาตรการ ดังนี้
มาตรการที่ 1 มาตรการการป้องกัน
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เรียน และเสริมสร้างคุณภาพชีวิต โดยการจัดกิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมทางการศึกษา
1) กำหนดเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับการป้องกันบุหรี่และสารเสพติดโดยการสอดแทรกในบทเรียนวิชาต่าง ๆ โดยการบูรณาการเข้ากับชีวิตประจำวัน
2) จัดตั้งชุมนุมเสมารักษ์
3) จัดอาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องน้ำ มีให้เป็นสถานที่ที่นักเรียนไปลักลอบสูบบุหรี่และเสพสารเสพติดได้
กิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
มีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้ข้อมูลข่าวสาร สร้างความตระหนักต่อปัญหาและรู้จักปฏิบัติตนในการป้องกันบุหรี่และสารเสพติด โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
1) จัดป้ายนิเทศในชั้นเรียนและป้ายนิเทศหน้าห้องเรียน
2) อบรมหน้าเสาธง
3) รณรงค์ต่อต้านยาเสพติดในวันต่อต้านยาเสพติดสากล
4) ประชาสัมพันธ์โทษของยาเสพติดในข่าวสารประจำโรงเรียน
5) ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองนักเรียนในวันปฐมนิเทศผู้ปกครองนักเรียนก่อนเปิดภาคเรียน
กิจกรรมทางเลือก
มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่าง ๆ ทั้งร่างกาย อารมณ์และสังคม ให้แก่ผู้เรียนโดยมีกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
1) ด้านสุขภาพอนามัย ได้กำหนดกิจกรรม ดังนี้
– จัดการแข่งขันกีฬาสีภายใน
– ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โดยการเล่นกีฬา
– ตรวจสุขภาพนักเรียนโดยครูประจำชั้นทุกวัน
– ดำเนินการตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพนักเรียน
2) ด้านจริยธรรม โดยกำหนดกิจกรรม ดังนี้
– ดำเนินการทำโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ กิจกรรมค่ายคุณธรรม
– กิจกรรมนั่งสมาธิ
– การเรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่นตามหลักสูตรท้องถิ่น
3) ด้านสังคม ได้กำหนดกิจกรรม ดังนี้
– จัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ในโรงเรียน
– ดำเนินการตามโครงการส่งเสริมประชาธิปไตย
4) ด้านฝึกอาชีพ ได้กำหนดกิจกรรมดังนี้
– จัดกิจกรรมค่ายวิชาการและงานอาชีพ
– จัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนสามารถผลิตผลงานที่สามารถจำหน่ายเป็นรายได้
มาตรการที่ 2 มาตรการการแก้ไข
มาตรการที่ใช้กับผู้เรียนที่เริ่มมีปัญหาการใช้สารเสพติด โดยยังไม่ติดสารเสพติดมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้สารเสพติด และพฤติกรรมอื่น ๆ โดยดำเนินการตามประกาศ เรื่อง มาตรการการป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1) ห้ามนักเรียนเสพสารเสพติดและนำสารเสพติดทุกชนิดเข้ามาในสถานศึกษา
2) จัดให้มีกิจกรรมกีฬาต้านยาเสพติด
3) ให้ครูเวร ครูประจำชั้น ครูประจำวิชาทุกคน ให้มีหน้าที่สอดส่องดูแลมิให้มีการเสพ การนำสารเสพติดเข้ามาในสถานศึกษา โดยถือเป็นหน้าที่ที่ต้องดำเนินการและรายงานผู้บริหารทุกครั้งเมื่อทราบและให้ถือเป็นความลับของทางราชการที่จะให้ผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องล่วงรู้ได้
4) ให้ครูผู้รับผิดชอบมีหน้าที่รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายการประกันความปลอดภัยและโครงการโรงเรียนสีขาว
5) ให้มีคณะกรรมการนักเรียนมีหน้าที่ดูแลสอดส่องและป้องกันสารเสพติดในสถานศึกษา ในรูปอาสาสมัคร
6) ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองนักเรียนในวันปฐมนิเทศ ปีละ 1 ครั้ง
7) เชิญผู้ปกครองนักเรียนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเสพติด มาปรึกษาหารือ และหาแนวทางป้องกันแก้ปัญหาร่วมกันกับโรงเรียน
8) อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับโทษ พิษภัยของยาเสพติด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
9) ส่งนักเรียนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเสพติดไปบำบัดยังสถานบำบัดของรัฐ
10) ประสานกับหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ โดยขอความร่วม ดังนี้
– เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจค้นเพื่อป้องกัน การลักลอบนำสารเสพติดเข้ามาในสถานศึกษาและการสุ่มตรวจปัสสาวะผู้เรียนกลุ่มเสี่ยง
– อบรมสัมมนาเพื่อพัฒนาบุคลากรที่ดำเนินงานป้องกันสารเสพติด
– การพัฒนาแนวทางและสร้างความเข้าใจนโยบายและการจัดกิจกรรมเสริมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษา
มาตรการที่ 3 มาตรการการบำบัดรักษาและฟื้นฟู
มาตรการการบำบัดรักษาและฟื้นฟู เป็นมาตรการที่ใช้กับผู้เรียนที่ติดสารเสพติด เพื่อที่จะลดจำนวนผู้เสพสารเสพติดลง หรือลดผลกระทบ จะเกิดขึ้นแก่สถานศึกษา ครอบครัวและชุมชน ด้วยการดำเนินการดังนี้
1) สำรวจข้อมูลนักเรียนแยกประเภทนักเรียนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มที่ติดสารเสพติด กลุ่มทดลองแต่ไม่ติด กลุ่มที่มีพฤติกรรมมีแนวโน้มที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด และกลุ่มปกติ
2) สร้างความตระหนักให้ทุกฝ่ายในสถานศึกษา ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องว่า “ผู้ติดสารเสพติดเป็นผู้ป่วยที่ต้องการบำบัดรักษาที่ถูกต้องทั้งร่างกายและจิตใจ” และโดยธรรมชาติของผู้ติดสารเสพติดจะมีพฤติกรรมเลิกแล้วกลับไปเสพใหม่อีกซ้ำหลายครั้ง ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและฟื้นฟูจิตใจ จึงต้องใช้เวลานานหลายครั้งเช่นกัน
3) ประสานกับครอบครัวให้มีส่วนร่วมในการดูแลและแก้ไขปัญหาเด็กนักเรียนที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติด
4) ส่งไปบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อรับการบำบัดรักษาทั้งทางร่างกายและจิตใจ
2. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานบำบัดรักษา
โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามคำสั่งโรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี คำสั่งที่ 32/2567 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข




3. กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานบำบัดรักษา
โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี มีการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานบำบัดรักษา ไว้เป็นมาตรการที่ใช้กับผู้เรียนที่ติดสารเสพติด เพื่อที่จะลดจำนวนผู้เสพสารเสพติดลง หรือลดผลกระทบจะเกิดขึ้นแก่สถานศึกษา ครอบครัวและชุมชน โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
1) สำรวจข้อมูลนักเรียนแยกประเภทนักเรียนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มที่ติดสารเสพติด กลุ่มทดลองแต่ไม่ติด กลุ่มที่มีพฤติกรรมมีแนวโน้มที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด และกลุ่มปกติ
2) สร้างความตระหนักให้ทุกฝ่ายในสถานศึกษา ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องว่า “ผู้ติดสารเสพติดเป็นผู้ป่วยที่ต้องการบำบัดรักษาที่ถูกต้องทั้งร่างกายและจิตใจ” และโดยธรรมชาติของผู้ติดสารเสพติดจะมีพฤติกรรมเลิกแล้วกลับไปเสพใหม่อีกซ้ำหลายครั้ง ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและฟื้นฟูจิตใจ จึงต้องใช้เวลานานหลายครั้งเช่นกัน
3) ประสานกับครอบครัวให้มีส่วนร่วมในการดูแลและแก้ไขปัญหาเด็กนักเรียนที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติด
4) ส่งไปบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อรับการบำบัดรักษาทั้งทางร่างกายและจิตใจ

4. มีเครือข่ายในการบำบัดรักษา และส่งต่อ
โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี มีเครือข่ายในการบำบัดรักษา และส่งต่อ ดังนี้
1) โรงเรียนประสานความร่วมมือกับสถานีตำรวจภูธรหนองกรด ในกรณีว่าถ้านักเรียนเสพสิ่งเสพติดหรือกระทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย
2) โรงเรียนประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาลบรรพตพิสัย และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบึงปลาทู ในกรณีถ้านักเรียนติดสิ่งเสพติดก็จะส่งต่อเพื่อรับการรักษา
5. รายงานผลการดำเนินงาน
คณะกรรมการปฏิบัติงาน “คลินิกเสมารักษ์” จะมีการประชุมกันทุกสิ้นเดือน เพื่อบันทึกการรับเรื่องแจ้งจากตู้แดงเสมารักษ์ ซึ่งในการดำเนินงานโรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี ไม่ได้รับแจ้งเรื่องที่นักเรียนไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและอบายมุข