กลยุทธ์พัฒนาการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2 ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570)

กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน

  • พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะขั้นสูง
  • พัฒนาผู้เรียน ให้มีทักษะใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารตลอดจนทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อการศึกษาต่อ และการมีงานทำ
  • พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะ การสร้างสรรค์และนวัตกรรม
  • พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะพื้นฐาน ๔ ด้าน ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ ๑๐
  • พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีวินัยและรับผิดชอบ
  • พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะทักษะที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  • พัฒนาผู้เรียนระดับปฐมวัยพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย
  • การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) และพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ
  • การทดสอบความสามารถพื้นฐานระดับชาติ(NT)
  • พัฒนาการอ่านออก เขียนได้ ลายมือสวยและคำนวณได้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓
  • พัฒนาความสามารถผู้เรียนด้านการอ่าน การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ รู้เรื่องวิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการประเมิน PISA
  • การพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ

กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษ

  • ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้รูปแบบ Active Learning / Co-creation ให้กับผู้เรียนในทุกระดับชั้น
  • ส่งเสริม สนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีการพัฒนาตนเองทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง โดยมีการพัฒนารายบุคคล ส่งเสริมการทดสอบสมรรถนะรายสาขาในระดับสูงตามมาตรฐานนานาชาติของครู มีจรรยาบรรณ และจิตวิญญาณความเป็นครู
  • พัฒนานวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน รวมทั้งดำเนินการให้มีการขยายผล
  • พัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นฟื้นฐานให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่และระบบการนิเทศการศึกษา
  • พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
  • พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาการจัดการเรียนรวม
  • พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีศักยภาพในการ จัดการเรียนการสอนสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ใช้ทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงมีความรู้และทักษะในสังคมยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)

กลยุทธ์ที่ 3 ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

  • ส่งเสริมประชากรวัยเรียนทุกคนให้ได้รับโอกาสในการเข้ารับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึงมีคุณภาพและเสมอภาค
  • สร้างความเข้มแข็งของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนระบบส่งเสริมความประพฤตินักเรียนระบบคุ้มครองนักเรียนและการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม
  • พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะด้านอาชีพและการมีงานทำ
  • พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะด้านกีฬา ด้านตนตรี ด้านวัฒนธรรม หรือด้านอื่นๆ ตามที่ตนถนัดและสนใจ
  • พัฒนาส่งเสริมเด็กด้อยโอกาสที่ไม่อยู่ในทะเบียนราษฎร์ (เด็กไร้สัญชาติ เด็กผลัดถิ่น เด็กต่างด้าว เด็กไทยที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน)
  • ส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการจัดการศึกษาให้ครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างทั่วถึง (การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ DLIT การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLIT)
  • พัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพให้แก่ผู้เรียน
  • การพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรมหรือต่างแนวความคิด(สภานักเรียน)

กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความปลอดภัยจากภัยทุกรูปแบบ

  • สร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจแก่ครู บุคลากรทางการศึกษานักเรียน ให้สามารถวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ความเสี่ยง และดำเนินการตามแนวทางการจัดการภัยพิบัติและภัยคุกตามทุกรูปแบบให้สามารถปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำรองรับวิถีชีวิตใหม่(New Normal)
  • ส่งเสริมให้มีการจัดสภาพแวดล้อมและสร้างระบบนิเวศน์การเรียนรู้ ที่ปลอดภัยในสถานศึกษาให้ผู้เรียนมีความปลอดภัย มีความอบอุ่น และมีความสุขในสถานศึกษา

กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาระบบบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม

  • ส่งเสริม สนับสนุนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยกลุ่มโรงเรียนเป็นฐาน
  • พัฒนาคุณภาพการศึกษาร่วมกับภาคีเครือข่าย (บวร) ต.โรงเรียนแห่งความสุข (ห้องเรียนคุณภาพ ๖ มิติสู่คุณภาพการศึกษา)
  • พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก
  • พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศให้ถูกต้องทันสมัย
  • ส่งเสริมการบริหารจัดการที่มุ่งเน้นคุณธรรมและความ โปร่งใสในการทำงาน ตามหลักการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA:Integrity &Transparency Assessment)
  • พัฒนาระบบการวางแผน การนำแผนไปสู่การปฏิบัติการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล เพื่อการ บริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล
  • ส่งเสริมระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาให้เข้มแข็ง
  • พัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพโดยเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดแผนอัตรากำลังการสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง การประเมินและการพัฒนา
About ธนัชชา โพธิกุล 96 Articles
ครูชำนาญการ โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี