คู่มือสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ปี พ.ศ. 2564
การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ 5 มาตรการ
1. มาตรการด้านการป้องกัน
1.1 สถานศึกษาดำเนินการกิจกรรมห้องเรียนสีขาว
1.2 สถานศึกษาจัดประกาศและมอบรางวัลหรือเกียรติบัตรห้องเรียนสีขาวดีเด่น
1.3 สถานศึกษามีการดําเนินงานโครงการสถานศึกษาปลอดบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า และปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 7 มาตรการ
1.4 สถานศึกษาจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อป้องกันยาเสพติด
2. มาตรการด้านค้นหา
2.1 สถานศึกษามีข้อมูลนักเรียนรายบุคคล
2.2 สถานศึกษามีการคัดกรองสำรวจสภาพการใช้ยาเสพติด จำแนกกลุ่มปลอด/กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มเสพ/กลุ่มติด/กลุ่มค้า
2.3 สถานศึกษามีการรายงานสำรวจการใช้สารเสพติด/ยาเสพติด
3. มาตรการด้านรักษา
3.1 สถานศึกษามีนโยบายในการบำบัดรักษาและส่งต่อหน่วยงานสังกัดสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น
3.2 สถานศึกษามี “คลินิกเสมารักษ์” (จิตสังคมบำบัดในสถานศึกษา)
4. มาตรการด้านการเฝ้าระวัง
4.1 สถานศึกษามีตู้แดงเสมารักษ์รับเรื่องปัญหายาเสพติดและอบายมุข
4.2 สถานศึกษาดำเนินการจัดตั้งชมรม/ชุมนุมเสมารักษ์ ป้องกันยาเสพติด
5. มาตรการด้านการบริหารจัดการ
5.1 สถานศึกษามีนโยบายยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข
5.2 สถานศึกษามีคณะกรรมการดําเนินงานและมีห้องปฏิบัติงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข
5.3 สถานศึกษามีการจัดทําบันทึกความร่วมมือ(MOU) กับภาคีเครือข่าย
5.4 สถานศึกษามีการดําเนินกิจกรรมร่วมกับภาคีเครือข่ายที่ทํา MOU
5.5 สถานศึกษามีการกํากับ ติดตามประเมินผล และรายงานผลการดําเนินงาน
กิจกรรมห้องเรียนสีขาว
แผนผังห้องเรียนสีขาว

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
คติพจน์ห้องเรียนสีขาว

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
สมุดบันทึกการปฏิบัติงาน 4 ฝ่าย



ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1



ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2



ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3



ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4



ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5



ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โครงงานห้องเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
เรื่อง
ภัยใกล้ตัว “ บุหรี่ ”

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
เรื่อง
ยาบ้าผิดกฎหมายอันตรายต่อชีวิต

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เรื่อง
ชีวิตสดใส ห่างไกลยาเสพติด
การทำ Best Practice นวัตกรรมเกี่ยวกับสถานศึกษาสีขาว คือ การนำเสนอวิธีการหรือแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดที่สถานศึกษาได้ดำเนินการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษา โดยเน้นการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือวิธีการใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง ส่วนประกอบสำคัญมีอยู่ 7 ประการ ครอบคลุ่ม (1) ความเป็นมาและความสำคัญ (2) วัตถุประสงค์และเป้าหมาย (3) ขั้นตอนการดำเนินงาน (4) ผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ (5) ปัจจัยความสำเร็จ (6) บทเรียนที่ได้รับ และ (7) ร่องรอย หลักฐานการเผยแพร่ผลงานหรือนวัตกรรม
1. ความเป็นมาและความสำคัญ
สถานการณ์ยาเสพติดในปัจจุบัน กำลังขยายตัวและมีทีท่าว่าอาจเกิดการรวมกลุ่มกันของกลุ่ม พ่อค้ายาในหลายประเทศของภูมิภาคอาเซียน ด้วยมีข้อมูลจากหน่วยงานด้านปราบปรามยาเสพติดพบว่า เครือข่ายเริ่มมีการเชื่อมโยงกันบางแล้ว ตั้งแต่แหล่งผลิตจนถึงระบบการขนส่งออกสู่ตลาด ดูจากยาเสพติดที่จับกุมได้แต่ละครั้งมีปริมาณมหาศาลในยาเสพติดเกือบทุกประเภทไม่ว่ายาบ้า ยาไอซ์ หรือแม้แต่พืชกัญชาที่เริ่มใช้มากขึ้น นโยบายการปราบปรามของรัฐบาลที่คุมเข้มอย่างต่อเนื่องก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ยาเสพติดยังคงทะลักเข้าสู่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง
กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดนโยบายในการเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตของผู้เรียนเพื่อให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือ พฤติกรรมห่างไกลยาเสพติดของนักเรียน โดยมุ่งเน้นให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียน มีแนวทางกิจกรรมคือ เป็นกิจกรรมเชิงลึกที่นำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดมโนสำนึก รู้ผิดชอบชั่วดี มีวิถีปฏิบัติอันดีงามในชีวิตจริง และมีส่วนร่วมกิจกรรมอย่างจริงจัง ให้ครอบคลุมผู้เรียนในสถานศึกษาเพื่อให้เรียนรู้และยึดถือปฏิบัติในวิถีชีวิต
กีฬามีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน ทั้งในด้านการเสริมสร้างสุขภาพพลานามัยให้แข็งแรงและจิตใจที่แจ่มใส นับเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งประการหนึ่งที่เอื้ออำนวยให้นักเรียนโรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ นำไปสู่การมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การพัฒนาคนในชาติให้มีความสามัคคี มีระเบียบวินัย รู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ ต่อตนเอง และประเทศชาติ ต้องอาศัยการกีฬาเป็นสื่อสำคัญ การกีฬาจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับการส่งเสริมให้เยาวชน ได้มีส่วนร่วมโดยถ้วนหน้า
เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวบังเกิดผลเป็นรูปธรรม โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี ได้พัฒนาคิดค้นการบริหาร ภายใต้ชื่อ CARE Model เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาผู้เรียน โดยดำเนินงานผ่านงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มุ่งหวังให้ผู้เรียน มีมีคุณภาพชีวิตที่ดี (เรียนดี มีความสุข) พิชิตยาเสพติด และอบายมุข เพื่อส่งผลให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้มีทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นต่อผู้เรียนทั้งนี้ได้มีการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนผ่านกระบวนการพัฒนางานวงจรคุณภาพ (PDCA) ผ่านแนวทางการดำเนินงานด้วยรูปแบบ CARE MODEL มีรายละเอียดดังนี้

Care ดูแล ห่วงใย ช่วยเหลือนักเรียนอย่างจริงใจ และเป็นไปตามกระบวนการ
Actul แก้ปัญหา และพัฒนาผู้เรียนตามบริบทและสภาพจริงของผู้เรียน
Recheck กำกับ นิเทศ ติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
Enlightenment พัฒนาต่อยอดเป็นองค์ความรู้เพื่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างยั่งยืน
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
วัตถุประสงค์ทั่วไป
เพื่อให้คณะครูและบุคลากรของโรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี ออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีแก่ตนเองและส่วนร่วม
วัตถุประสงค์เฉพาะ
- เพื่อให้ทุกคนออกกำลังกาย ส่งเสริมสุขภาพร่างกายของตนเอง
- เพื่อให้ทุกคนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุขทุกประเภท
- เพื่อส่งเสริมภาวะสุขโภชนาการให้สมบูรณ์แข็งแรง
ขอบเขตการศึกษา
ประชากรที่ใช้วิจัยในครั้งนี้ ได้แก่
- นักเรียนโรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ที่กำลังศึกษาใน ปีการศึกษา 2567 จำนวน 140 คน
- คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี จำนวน 13 คน
3. ขั้นตอนการดำเนินงาน
ผลงานนวัตตกรรม เสริมสร้างคุณภาพชีวิต พิชิตยาเสพติด โดยใช้ CARE Model ได้ดำเนินงานตามขั้นตอนการบริหารจัดการตามกระบวนการ PDCA โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานอยู่ 4 ขั้นตอน ครอบคลุม (1) การวางแผน (2) การปฏิบัติ (3) การตรวจสอบ และ (4) การปรับปรุง

Plan หรือ การวางแผน
ขั้นตอนแรกคือตั้งเป้าหมายและการวางแผนงานว่าเราจะปรับปรุงแผนงานอะไร (what) ปรับปรุงอย่างไร (how) ใครเป็นผู้รับผิดชอบ (who) ต้องทำเมื่อไหร่ (when) ที่สำคัญที่สุดคือการกำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการจะได้ (outcome) ว่าจะมีหน้าตาเป็นอย่างไรและกำหนดตัวชี้วัดที่เหมาะสม (KPI) จากนั้นทำให้ออกมาเป็นแผนการดำเนินงาน (Action plan)
โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี ได้ทำการประชุมวางแผนการดำเนินงานจากภาคเครือข่ายสถานศึกษาด้านต่าง ๆ และได้กำหนดแผนงานเป็นแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ โครงการ กิจกรรม ของสถานศึกษา โดยได้รับความร่วมมือจากภาคเครือข่าย คณะครู ผู้ปกครองทุกภาคส่วน ภายใต้การบริหารการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ของสถานศึกษา
ภาคีเครือข่ายการส่วนที่ร่วมในการกำหนดแนวทางของสถานศึกษา
– ภาคีเครือข่ายด้านการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน
– ภาคีเครือข่ายด้านการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม
– ภาคีเครือข่ายด้านการส่งเสริมกีฬาและนันทนาการ
– ภาคีเครือข่ายด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน
– ภาคีเครือข่ายด้านการส่งเสริมความปลอดภัยในโรงเรียน
– ภาคีเครือข่ายด้านความร่วมมือในการจัดการศึกษา

โมเดล Hand เป็นแนวทางการทำงานของภาคีเครือข่ายที่มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางของสถานศึกษา โดยกำหนดแผนงานเป็นแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ โครงการ กิจกรรม ของสถานศึกษา โดย HAND ย่อมาจาก
H –Hand : ช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างภาคีเครือข่ายและโรงเรียน
A – Active : ทำงานเชิงรุก เข้าใจ เข้าถึง เพื่อพัฒนาผู้เรียนได้ถูกจุด และทันท่วงที
N – Net : สร้างและพัฒนาเครือข่ายให้เข้มแข็ง
D – Destination : บรรลุเป้าหมายร่วมกัน
Do หรือ การปฏิบัติ
ขั้นตอนนี้คือการลงมือปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานที่ทำไว้ในข้อ 1 เนื่องจากการปรับปรุงกระบวนการนั้นยังใหม่อยู่ อาจจะปรับปรุงแล้วประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ได้
กิจกรรมการดำเนินงานตามแผนที่ได้จัดกิจกรรม โดยใช้ขั้นตอนร่วมกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ขั้นตอน
1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยการวิเคราะห์นักเรียนเป็นรายบุคคล โดยการจัดครูประจำชั้นออกเยี่ยมบ้านนักเรียน ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ครูประจำชั้นรู้จักนักเรียนมากยิ่งขึ้น ทำให้รู้สภาพปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับนักเรียนแต่ละคน ช่วยติดตามดูแลแก้ไขปัญหากับนักเรียนอย่างต่อเนื่องได้เป็นอย่างดี

2. การคัดกรองนักเรียน โดยใช้แบบประเมิน SDQ แบบประเมิน EQ ใช้โปรแกรมประเมินพฤติกรรมเพื่อนำข้อมูลปรับปรุงพัฒนา ป้องกัน แก้ไขและให้ความช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ


3. การส่งเสริมนักเรียน หลังจากการคัดกรองนักเรียน แล้วงานระบบการดูแลช่วยเหลือ นักเรียนได้ร่วมกับหัวหน้างานแนะแนว หัวหน้างานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สร้างกิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบต่าง ๆเพื่อส่งเสริมศักยภาพให้กับนักเรียนทั้งหมดตามความสามารถ เช่น กิจกรรมวิชาการของทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่การแข่งขันตอบปัญหาด้านวิชาการ ด้านดนตรีด้านกีฬา กิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย กิจกรรมค่ายคุณธรรม-จริยธรรมของ ทุกระดับชั้น กิจกรรมปลอดยาเสพติดและอบายมุข และอื่น ๆ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะหล่อหลอมให้นักเรียนทุกคนสามารถผ่านวิกฤตชีวิตของตนเองได้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน ตนเองและอยู่ในสังคมอย่างปลอดภัยและมีความสุข

4. การป้องกันและแก้ไข โดยครูประจำชั้นมีบทบาทในการสร้างแรงจูงใจที่ดีให้กับนักเรียนด้วยการชื่นชม ให้กำลังใจ ให้ความรู้ในด้านทักษะชีวิต โรงเรียนมีการประชุมผู้ปกครองปีการศึกษาละ 2 ครั้ง มีการจัดตั้งเครือข่ายผู้ปกครอง ทำให้ผู้ปกครองทราบข้อมูลของนักเรียนด้านการเรียนและด้านพฤติกรรมอยู่เสมอ ผู้ปกครองเกิด เจตคติที่ดีและให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อันจะเกิดขึ้นกับนักเรียน

5. การส่งต่อนักเรียน จากผลการดำเนินงานการจัดกิจกรรมค่ายคุณธรรม-จริยธรรม การจัดกิจกรรม เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติด กิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยและสร้างภาวะผู้นำและกิจกรรมอื่นๆ เหล่านี้ช่วยให้นักเรียนทุกคนสามารถปรับตัวและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ดังนั้น ส่วนใหญ่การส่งต่อจึงเป็นการส่งต่อภายใน เนื่องจากไม่มีกรณีร้ายแรงโดยจะมีครูประจำชั้นและหัวหน้าระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนร่วมกับหัวหน้างานแนะแนวตลอดจนคณะกรรมการฝ่ายบริหาร ของโรงเรียนร่วมกันแก้ปัญหาตามความเหมาะสม และสำหรับกรณีที่รุนแรง มีจำนวนน้อยและทางโรงเรียนได้ส่งต่อภายนอก จึงได้รับความร่วมมือจากนักจิตวิทยาประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2 และครูแดร์ (D.A.R.E.) จากสถานีตำรวจภูธรหนองกรด เจ้าหน้าที่จากโรงเรียนพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านบึงปลาทู ผลปรากฎว่าสามารถแก้ปัญหาได้ทุกรายและนักเรียนสามารถอยู่ร่วมกับทุกคนได้เป็นอย่างดี ตามกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี

โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี
Check หรือ การตรวจสอบ
การประเมินว่าได้ตามแผนที่วางไว้ว่าเป็นไปตามความคาดหวังหรือไม่ โดยใช้ตัวชีวัดที่กำหนดไว้ตรวจสอบ ในการตรวจสอบจะมีทั้งส่วนที่เป็นไปตามแผนและไม่เป็นไปตามแผน
โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคีได้ดำเนินการ ตรวจสอบแผนงาน ตามโครงการกิจกรรมตลอดระยะเวลา ทั้ง ระหว่างดำเนินการและหลักเสร็จสิ้นการดำเนินงาน เพื่อนำผลการตรวจสอบไปแก้ไข และปรับปรุงการดำเนินงานต่อไป

นักเรียนกลุ่มบกพร่องการเรียนรู้


นิเทศการเรียนการสอน ของการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน กำกับติดตาม และประเมินผล

และให้คำแนะนำต่างๆ ในการจัดการศึกษา
Act หรือ การปรับปรุง
จากผลลัพธ์ที่ได้จากการตรวจสอบ จะต้องนำผลลัพธ์นั้นมาเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงอย่างเหมาะสม วิเคราะห์ว่าปัจจัยใดที่ทำให้ไม่สำเร็จในแผนการที่ตั้งมาตอนแรก เมื่อปรับปรุงแผนการดำเนินงานเสร็จ เราก็จะกลับเข้าสู่วงจรการทำ PDCA แบบนี้วนไปเรื่อยๆ

PDCA เป็นวงจรบริหารงานคุณภาพ ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน Plan-Do-Check-Act เป็นกระบวนการที่ใช้ปรับปรุงการทำงานขององค์กรอย่างเป็นระบบ โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาและเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous improvement) จุดเด่นคือเป็นกระบวนการที่ทำซ้ำได้เรื่อย ๆ จนกลายเป็น วงจร (Cycle) วนลูปนั่นเอง
4. ผลการดำเนินงาน
การดำเนินการ นวัตกรรม เสริมสร้างคุณภาพชีวิต พิชิตยาเสพติด โดยใช้ CARE Model มีวัตถุประสงค์คือ
1. เพื่อให้ทุกคนออกกำลังกาย ส่งเสริมสุขภาพร่างกายของตนเอง
2. เพื่อให้ทุกคนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุขทุกประเภท
3. ส่งเสริมภาวะสุขโภชนาการให้สมบูรณ์แข็งแรง
โดยกลุ่มประชากรคือ นักเรียนโรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี ปีการศึกษา 2567 จำนวน 140 คน ใช้กระบวนการของความร่วมมือของภาคีเครือข่าย และการใช้กระบวนการภายใต้ชื่อ CARE Model ที่เป็นรูปธรรม ส่งผลให้นักเรียนมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น และนักเรียนยังมีสุขภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งผลการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ได้รับคือ
1. นักเรียนและคณะครู ทุกคนมีการออกกำลังกาย ส่งเสริมสุขภาพร่างกายของตนเอง คิดเป็นร้อยละ 100
2. นักเรียนและคณะครูทุกคนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุขทุกประเภท จากการออกกำลังกายและการทำกิจกรรมต่าง ๆ คิดเป็นร้อยละ 100
3. นักเรียนและคณะครูทุกคนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 100
ส่งผลให้ โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคีได้รับรางวัลต่างๆ ได้แก่ (1) สถานศึกษาได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติเสมา ป.ป.ส. ระดับเงิน ปีการศึกษา 2565 (2) สถานศึกษาได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติเสมา ป.ป.ส. ระดับทอง ปีการศึกษา 2566 (3) โรงเรียนต้นแบบส่งเสริมสุขภาพรุ่นที่ 7 ระดับภูมิภาค (4) รางวัลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระดับเขตตรวจราชการที่ 18 (5) รางวัลเหรียญทอง ในการแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 71-72 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (6) รางวัลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
5. ปัจจัยความสำเร็จ
ด้านผู้บริหาร
– ผู้บริหารให้ความสําคัญและสนับสนุนการพัฒนาระบบงาน
– ผู้บริหารให้ความสำคัญและสนับสนุนภาวะสุขโภชนาการ และสุขภาพร่างกายของผู้เรียน
ด้านครู
– การมีส่วนร่วมของบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ด้านกระบวนการ
– การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
– ความพร้อมของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ
– ผู้สอนมีความพร้อมและความตั้งใจที่นําประสบการณ์การทำงานมาพัฒนา ปรับปรุงระบบการทํางานอย่างต่อเนื่อง
ด้านนักเรียน
– นักเรียนมีความพึงพอใจในกิจกรรมต่างๆ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
ด้านเครือข่ายชุมชน
– ภาคีเครือข่ายด้านต่างๆ ของชุมชนให้ความช่วยเหลือชี้แนะในการพัฒนาสุขภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมให้สูงขึ้น
6. บทเรียนที่ได้รับ
การใช้กระบวนการบริหารภายใต้ชื่อ CARE Model จะสำเร็จลงไม่ได้ หากไม่ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย โดยกิจกรรมที่ได้ส่งเสริมนักเรียนให้ออกห่าง หรือ พิชิตยาเสพติดนั้น คือกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพเป็นสิ่งที่ดีสำหรับร่างกาย ซึ่งควรจะออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย 3 – 5 วันต่อสัปดาห์ การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยทำให้หัวใจแข็งแรง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ น้อยลง เพิ่มความแข็งแรง และยังสามารถช่วยลดความอ้วนได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ บทเรียนที่ได้รับจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้
6.1 ทุกคนออกกำลังกาย ส่งเสริมสุขภาพร่างกายของตนเอง การออกกำลังกาย การควบคุมอาหารก็เป็นเรื่องสำคัญที่ควรทำควบคู่กันไป สามารถเลือกกินโปรตีนไขมันต่ำ ผักและผลไม้น้ำตาลน้อย การลดน้ำหนักต้องใช้เวลา ใจเย็นๆ และตั้งใจทำติดต่อกันเป็นเดือนๆ การลดน้ำหนักที่ปลอดภัยและยั่งยืน ควรลดได้ราวๆ 1-1.5 กิโลกรัมต่อหนึ่งสัปดาห์เท่านั้น ไม่ควรหักโหมมากจนเกินไปจนอ่อนเพลีย และอย่าลืมกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดสารอาหาร และพักผ่อนให้เพียงพอด้วย
การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มน้ำหนักสำหรับคนผอม ควรทำอย่างถูกวิธีอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และทำให้ร่างกายฟิตกระชับขึ้น แม้จะกินเยอะแค่ไหนก็ไม่ทำให้ร่างกายอ้วน เพราะออกกำลังกายอยู่สม่ำเสมอ แถมยังทำให้หิวมากขึ้นด้วย
การออกกำลังกายจะทำให้สารโดปามีน ที่เรียกกันว่าเป็นสารแห่งความสุขหลั่งออกมา ซึ่งผู้ที่เคยติดยาเสพติดแม้ว่าจะเลิกยาเสพติดแล้ว สมองก็อาจจะยังหลั่งสาร โดปามีน ได้ไม่เต็มที่ การออกกำลังกายจะเข้าไปช่วยให้ร่างกายหลั่งสารนี้เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ป่วยที่เพิ่งออกจากสถานที่เลิกยาเสพติด รู้สึกมีความสุข ผ่อนคลาย ทั้งยังทำให้ผู้ที่เพิ่งผ่านพ้นการบำบัดยาเสพติดสามารถนอนหลับได้สบายขึ้น จึงช่วยลดความเครียด โดยญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยควรจัดตารางการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละคนมีสภาพร่างกายที่แตกต่างกัน และควรเป็นการออกกำลังกายเบาๆก่อน เพื่อให้ร่างกายที่เพิ่งได้รับการฟื้นฟูนั้นปรับสภาพได้อย่างเหมาะสมก่อน
การพักผ่อน เพราะการพักผ่อนเป็นพื้นฐานของการมีสุขภาพที่ดี ถ้าเราพักผ่อนเพียงพอก็จะส่งผลให้จิตใจแจ่มใจร่างกายแข็งแรง แต่หากใครเคยได้ยินว่าพักผ่อนน้อยจะทำให้ร่างกายอ้วนขึ้น เพราะได้รับไขมันมากกว่ากล้ามเนื้อแถมโรคอื่น ๆ มีโอกาสตามมาได้ง่ายด้วย ดังนั้นพักผ่อนให้เพียงพอจะดีที่สุด เพื่อให้ร่างกายได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
6.2 ทุกคนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุขทุกประเภท กิจกรรมทางเลือกที่สามารถช่วยให้ผู้บำบัดยาเสพติดเบี่ยงเบนความสนใจ ลดความหมกมุ่น มีความสุขตามธรรมชาติได้โดยไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด การเล่นกีฬาไม่ใช่เป็นแต่เพียงกิจกรรมทางเลือกที่เบี่ยงเบน ความสนใจของ เยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติดเท่านั้น แต่ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เชื่อว่า การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬานั้นจะทำให้ต่อมไร้ท่อใต้สมองหลั่งสารเคมี ชนิดหนึ่งชื่อ “เอนโดฟีน” ออกมา ซึ่งสารชนิดนี้ จะทำให้รู้สึกสดชื่น และ เป็นสุข ผู้ที่ออกกำาลังกาย อยู่เสมอจึงมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์สมกับที่กล่าวว่า “กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ” ดังนั้น จึงควรที่จะช่วยกันส่งเสริมให้เยาวชนได้ออกกำลังกายและเล่นกีฬา เพื่อให้มีสาร “เอนโดฟีน” อยู่ในร่างกายเกิดความสุขได้โดยไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด
6.3 เพื่อส่งเสริมภาวะสุขโภชนาการให้สมบูรณ์แข็งแรง การออกกำลังกายจะช่วยลดปริมาณภาวะอ้วนผอมได้ เพราะสำหรับคนที่ไม่เคยออกกำลังกาย เพราะอาจไม่ชอบการออกกำลังกายเป็นทุนเดิม แต่หากได้ลองออกกำลังกายในแบบที่ชอบ ที่มีความสนุก ไม่รู้สึกว่าถูกบังคับหรือฝืนตัวเองที่จะต้องทำ จะทำให้เรามีแรงจูงใจในการออกกำลังกายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สำหรับวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับคนอ้วน หรือคนที่มีน้ำหนักเกิน ควรเลือกวิธีออกกำลังกายที่ไม่ต้องมีแรงกระแทกสูง กระโดด หรือทำอะไรที่เคลื่อนไหวเร็วเกินไป และแนะนำให้ออกกำลังกายทั้งแบบเผาผลาญไขมันและเสริมความแข็งแรงกล้ามเนื้อ
7. การเผยแพร่











รางวัลเหรียญทอง ในการแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 72 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
– การแข่งขันขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ประเภทหญิง
– การแข่งขันขับร้องเพลงไทยลูกกรุง ประเภทหญิง
– การแข่งขันแอโรบิก
– การแข่งขันทำนำพริก ผักสด เครื่องเคียง
รายงานภาพกิจกรรมต่าง ๆ ของสถานศึกษา
Facebook : โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี
https://www.facebook.com/Ratrumsamakkeeschool
การสร้างและพัฒนาเครือข่ายสถานศึกษากับสถานศึกษา
บทที่ 1 หลักฐานการบันทึกข้อตกลง 3 สถานศึกษา
โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี ได้ประสานความร่วมมือกับสถานศึกษาเครือข่าย ในการช่วยเหลือป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาดูงานร่วมกัน จำนวน 3 สถานศึกษา ได้แก่ 1. โรงเรียนวัดหนองมะขาม 2. โรงเรียนบ้านทุ่งท่าเสา และ 3 โรงเรียนวัดวงฆ้อง (ราษฎร์สุริยะศึกษา)
โรงเรียนหนองมะขาม ตำบลบึงปลาทู อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์
สถานที่จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)
ห้องประชุม โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี ตำบลบึงปลาทู อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์
วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2567

ระหว่างผู้บริหารโรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี กับ ผู้บริหารโรงเรียนวัดหนองมะขาม

โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี กับ โรงเรียนวัดหนองมะขาม
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)

โรงเรียนบ้านทุ่งทาเสา ตำบลด่านช้าง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์
สถานที่จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)
ห้องประชุม โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี ตำบลบึงปลาทู อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์
วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2567

ระหว่างผู้บริหารโรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี กับ ผู้บริหารโรงเรียนบ้านทุ่งท่าเสา

โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี กับ โรงเรียนบ้านทุ่งท่าเสา
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)

โรงเรียนวัดวงฆ้อง (ราษฎร์สุริยะศึกษา) ตำบลด่านช้าง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์
สถานที่จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)
ห้องประชุม โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี ตำบลบึงปลาทู อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์
วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2567

ระหว่างผู้บริหารโรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี กับ ผู้บริหารโรงเรียนโรงเรียนวัดวงฆ้อง (ราษฎร์สุริยะศึกษา)

โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี กับ โรงเรียนโรงเรียนวัดวงฆ้อง (ราษฎร์สุริยะศึกษา)
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)

บทที่ 2 ผลการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ผลการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสถานศึกษาเครือข่ายจากการดำเนินการสร้าง และพัฒนาเครือข่าย เพื่อดำเนินงานการป้องกันยาเสพติดโรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี มีภาคีเครือข่ายสร้างภูมิคุ้มกัน ให้นักเรียนห่างไกลจากยาเสพติด โดยมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายทั้ง 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดหนองมะขาม โรงเรียนบ้านทุ่งท่าเสา โรงเรียนวัดวงฆ้อง (ราษฎร์สุริยะศึกษา) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม ครอบคลุ่ม (1) การดำเนินงานของเครือข่ายของครู และ (2) การดำเนินงานของเครือข่ายของนักเรียน
การดำเนินงานของเครือข่ายของครู
โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี ได้ดำเนินการสร้างภาคีเครือข่ายครู โดยดำเนินการจัดกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างครูกับครู เรื่อง การดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ตามมาตรการ 5 ด้าน ได้แก่ มาตรการด้านการป้องกัน มาตรการด้านการค้นหา มาตรการด้านการรักษา มาตรการด้านการเฝ้าระวัง และมาตรการด้านการบริหารจัดการ เป็นต้น


การดำเนินงานของเครือข่ายนักเรียน
โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี ได้ดำเนินการ สร้างภาคีเครือข่ายนักเรียน โดยดำเนินการจัดกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างนักเรียนกับนักเรียน เรื่อง การดำเนินงานห้องเรียนสีขาวของกรรมการ 4 ฝ่าย ได้แก่ มาตรฐานฝ่ายการเรียน มาตรฐานฝ่ายการงาน มาตรฐานฝ่ายสารวัตรนักเรียน และมาตรฐานฝ่ายกิจกรรม



หนังสือเชิญขอเชิญร่วมกิจกรรมค่ายวิชาการ โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข



บทที่ 3 การดำเนินงานจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สถานศึกษาสีขาว
โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี ได้ดำเนินการจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติด และอบายมุข ผลการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสถานศึกษาเครือข่ายจากการดำเนินการสร้าง และพัฒนาเครือข่าย เพื่อดำเนินงานการป้องกันยาเสพติดโรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี และเผยแพร่ผลงานการดำเนินงาน โดยมีการดำเนินงาน 4 รายการ ครอบคลุ่ม (1) มีห้องศูนย์เรียนรู้โครงการสถานศึกษาสีขาวฯ (2) มีแหล่งเรียนรู้ภายในห้องศูนย์เรียบรู้โครงการสถานศึกษาสีขาวฯ (3) กระบวนการดำเนินงานภายในห้องศูนย์เรียนรู้โครงการสถานศึกษาสีขาวฯ และ (4) หลักฐานการเผยแพร่ผลงานห้องศูนย์เรียนรู้โครงการสถานศึกษาสีขาวฯ
1. มีห้องศูนย์เรียนรู้โครงการสถานศึกษาสีขาวฯ
การดำเนินการสร้าง และพัฒนาเครือข่ายฯ โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี ได้ดำเนินงานตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติด และอบายมุข โดยนำกระบวนการห้องเรียนสีขาว เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักถึงโทษของยาเสพติดให้กับนักเรียนได้ศึกษาหาความรู้ ไว้เป็นเกราะป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากยาเสพติด โดยมีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับยาเสพติดทุกชั้นเรียน และได้จัดทำห้องศูนย์การเรียนรู้ โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติด และอบายมข เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และบุคคลที่สนใจทั่วไป เพื่อให้ทุกคนที่ได้รับความรู้จากห้องศูนย์การเรียนรู้ฯ โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี เกิดภูมิคุ้มกันอย่างต่อเนื่อง

โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี


โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี
2. มีแหล่งเรียนรู้ภายในห้องศูนย์เรียนรู้โครงการสถานศึกษาสีขาวฯ
แหล่งเรียนรู้ภายในห้องศูนย์เรียนรู้โครงการสถานศึกษาสีขาวฯ มีจำนวนหลายจุด ทั้งผลงานของนักเรียน และของโรงเรียน ทั้งบอร์ดความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด บุหรี่และอบายมุข ต่าง ๆ



3. กระบวนการดำเนินงานภายในห้องศูนย์เรียนรู้โครงการสถานศึกษาสีขาวฯ
ดำเนินการโดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับทางโรงเรียน ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติด และอบายมุข ดังนี้
3.1 . ผู้บริหารสถานศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี นำนโยบายสู่การปฏิบัติ โดยมีการจัดประชุมชี้แจง แต่งตั้งคณะทำงานผู้รับผิดชอบ วางแผนงาน ดำเนินการตามแผนฯ ติดตาม ประเมินผล สรุปรายงานเสนอตามลำดับ พร้อมทั้งเสนอแนะปัญหา และอุปสรรรค เพื่อนำไปสู่การแก้ไข ปรับปรุง พัฒนาโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติด และอบายมุข ให้มีความเข้มแข็ง และต่อเนื่อง





ครูผู้สอนมีหน้าที่ในการขับเคลื่อนกิจกรรม ให้ความรู้แก่นักเรียน และให้คำปรึกษา ดำเนินงาน โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติด และอบายมุข ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ เฝ้าระวัง สอดส่องดูแลให้คำปรึกษานักเรียนในผู้ที่มีปัญหา (ถ้ามี) และรายงานผู้บริหารสถานศึกษาทราบ เพื่อนำไปสู่การป้องกัน และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบในสถานศึกษา



3. นักเรียนแกนนำ มีหน้าที่ในการจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อดำเนินงานตามโครงสร้าง และจัดกิจการตามที่ได้รับมอบหมายและวิเคราะห์องค์ความรู้ต่างๆ จากการปฏิบัติจริงภายในโรงเรียนนำไปสู่การตระหนักรู้ถึงโทษยาเสพติดและอบายมุข โดยสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติ ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน สังคม และประเทศชาติ





4. หลักฐานการเผยแพร่ผลงานห้องศูนย์เรียนรู้โครงการสถานศึกษาสีขาวฯ
โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี ได้นำเสนอและเผยแพร่ผลงานการดำเนินงานของโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข แก่ โรงเรียนเครือข่าย และโรงเรียนอื่นๆ เข้ามาศึกษาดูงานการดำเนินงานของโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนราษฎร์ร่วมสามัคคี





